ตัวอักษณวิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกวิชาภาษาไทย =]

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ขนมไทยในวรรณคดี

 คำว่า "ขนม" เข้าใจว่ามาจากคำสองคำที่มาผสมกันคือ "ข้าวหนม" และ "ข้าวนม" เข้าใจว่าเป็นข้าวผสมน้ำอ้อย น้ำตาล โดยอนุโลมคำว่าหนม แปลว่า หวาน
          ข้าวหนม ก็แปลว่า ข้าวหวาน เรียกสั้นๆ เร็วๆ ก็กลายเป็น ขนม ไป
          ส่วนที่ว่ามาจากข้าวนม (ข้าวเคล้านม) นั้นดูจะเป็นตำนานแขกโบราณ อย่างข้าวมธุปายาส (ที่นางสุชาดาทำถวายพระพุทธเจ้าเมื่อตอนตรัสรู้ก็ว่าเป็นข้าวหุงกับนม) 
          คำว่า ขนม มีใช้มาหลายร้อยปียากจะสันนิฐานแน่นอนได้ เช่นเดียวกับไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่า "ขนมไทย" เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยใดเป็นครั้งแรก  แต่ตามประวัติศาสตร์ไทยมีหลักฐานตอนหนึ่งว่า มีการจารึกชื่อขนมในแท่งศิลาจารึก เป็นการจารึกแบบลายแทงสมัยโบราณ ขนมที่ปรากฏคือ "ไข่กบ นกปล่อย บัวลอย อ้ายตื้อ" ถามผู้ใหญ่ดูถึงได้รู้ว่า ไข่กบ หมายถึง เม็ดแมงลัก นกปล่อย หมายถึง ลอดช่อง บัวลอย หมายถึง ข้าวตอก อ้ายตื้อ หมายถึง ข้าวเหนียว ขนมทั้งสี่ใช้น้ำกระสายอย่างเดียวกันคือ "น้ำกะทิ" โดยใช้ถ้วยใส่ขนม ซึ่งเราเรียกการเลี้ยงขนม ๔ อย่างนี้ว่า "ประเพณี ๔ ถ้วย"

  ขนมประเภทที่ใช้ข้าว (แป้ง) น้ำตาล มะพร้าว คงจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะมีการติดต่อกับต่างประเทศ กล่าวว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีท่านผู้หญิงของเจ้าพระยาวิชาเยนชร์บรรดาศักดิ์ "ท้าวทองกีบม้า" ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับชาวพนักงานของหวาน ได้ประดิษฐ์คิดค้นขนมตระกูลทองเพราะมีไข่ผสมคือ ทองหยิบ ทองหยอด ทองพลุ ฝอยทอง ทองโปร่ง เป็นต้น
          กาพย์เห่ชมเครื่องคาว-หวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๒ ที่ทรงพระราชนิพนธ์ ชมพระศรีสุริเยนทรา บรมราชชนนีด้วยกระบวนแต่งเครื่องเสวย ที่ไม่มีผู้ใดจะเสมอได้ในครั้งนั้น ด้วยกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ที่ไพเราะยิ่ง ในฝีพระหัตถ์ด้วย 








โคลง
สังขยาหน้าไข่คุ้นเคยมี 
แกมกับข้าวเหนียวสี โศกย้อม
เป็นนัยนำวาที สมรแม่ มาแม่
แถลงว่าโศกเมอพร้อมเพียบแอ้ อกอร
  







กาพย์ 
* สังขยาหน้าตั้งไข่ ข้าวเหนียวใส่สีโศกแสดง
เป็นนัยไม่เคลือบแคลง แจ้งว่าเจ้าเศร้าโศกเหลือ
* ซ่าหริ่มลิ้มหวานล้ำแทรกใส่น้ำกะทิเจือ
วิตกอกแห้งเครือได้เสพย์หริ่มพิมเสนโรย
* ลำเจียกชื่อขนมนึกโฉมฉมหอมชวยโชย
ไกลกลิ่นดิ้นแดโดยโหยไห้หาบุหงางาม
* มัศกอดกอดอย่างไรน่าสงสัยใคร่ขอถาม
กอดเคล้นจะเห็นความขนมนามนี้ยังแคลง
* ลุตตี่ นี่น่าชมแผ่แผ่นกลมเพียงแผ่นแผง
โอชาหน้าไก่แกงแคลงของแขกแปลกกลิ่นอาย
* ขนมจีบเจ้าจีบห่องามสมส่อประพิมประพาย
นึกน้องนุ่งจีบถวายชายพกจีบกลีบแนบเนียน
* รสรักยักลำนำประดิษฐ์ทำขนมเทียน 
คำนึงนิ้วนางเจียนเทียนหล่อเหลาเกลากลึงกลม
* ทองหยิบทิพย์เทียมทัดสามหยิบชัดน่าเชยชม
หลงหยิบว่ายาดมก้มหน้าเมินเขินขวยใจ
* ขนมผิงผิงผ่าวร้อนเพียงไฟฟอนฟอกทรวงใน
ร้อนนักรักแรมไกลเมื่อไรเห็นจะเย็นทรวง
* รังไรโรยด้วยแป้งเหมือนนกแกล้งทำรังรวง
โอ้อกนกทั้งปวงยังยินดีด้วยมีรัง
* ทองหยอดทอดสนิททองม้วนมิดคิดความหลัง
สองปีสองปิดบังแต่ลำพังสองต่อสอง
* งามจริงจ่ามงกุฎใส่ชื่อดุจมงกุฎทอง
เรียมร่ำคำนึงปองสะอิ้งน้องนั้นเคยแล
* บัวลอยเล่ห์บัวงามคิดบัวถามแก้วกับตน
ปลั่งเปล่งเคร่งยุคลสถนนุชดุจประทุม
* ช่อม่วงเหมาะมีรสหอมปรากฏกลโกสุม
คิดสีสไบคลุมหุ้มห่อม่วงดวงพุดตาน
* ฝอยทอง เป็นยองใยเหมือนเส้นไหมไข่ของหวาน
คิดความยามเยาวมาลย์ เย็บชุนใช้ไหมทองจีนฯ







ขนมไทยในงานประเพณี  ที่นิยมใช้ในงานประเพณีต่างๆ มีดังนี้ 

          เทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย จะใช้ขนมที่เป็นมงคลนาม จัดเป็นขนมชั้นดีใช้ในการทำบุญเลี้ยงพระ แล้วก็เตรียมขนมสำหรับรับรองแขกเหรื่อ ที่มารดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ สมัยโบราณจะกวนกะละแมแต่ปัจจุบันอาจใช้ขนมอื่นๆ ที่อร่อยและสวยงาม เช่น ขนมชั้น ขนมลูกชุบ ตามความสะดวก
          เทศกาลเข้าพรรษา (แรม ๑ ค่ำเดือน ๘) ขนมไทยที่ใช้ได้แก่ ข้าวต้มมัดและขนมแกงบวดต่างๆ เช่น ฟักทองแกงบวด กล้วยบวชชี เป็นต้น
          เทศกาลออกพรรษา มีพิธีทำบุญตักบาตรเทโว ขนมที่ใช้ในการทำบุญ คือข้าวต้มลูกโยน
          สารทไทย เป็นงานประเพณีที่ชาวไทยทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติมิตรผู้ล่วงลับ จะมีขนมไทยประจำภาค อาทิ
                    ภาคเหนือ : กล้วยตาก เพราะมีกล้วยมาก นอกจากตากก็มีกวนและของแช่อิ่ม
                    ภาคกลาง : กระยาสารท เคียงคู่กับกล้วยไข่
                    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เรียกว่า งานบุญข้าวจี่ ขนมที่ใช้ได้แก่ ขนมเทียน ข้าวจี่
                    ภาคใต้ : เรียกว่างานบุญเดือนสิบ ขนมที่ใช้ได้แก่ ขนมลา ขนมกง ขนมพอง

ขนมไทยในพิธีกรรม   ขนมที่นิยมใช้ทำบุญเลี้ยงพระในงานมงคลหรือพิธีกรรมที่ขาดไม่ได้ ได้แก่
  • ขนมตระกูลทอง เช่น ทองเอก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และ
  • ขนมมงคลนาม เช่น ขนมถ้วยฟู ขนมชั้น ขนมจ่ามงกุฎ ขนมเสน่ห์จันทร์ 
ขนมไทยโบราณตระกูลทอง ส่วนผสม และ วิธีทำ ซึ่งภายหลังได้นำมาเป็นชื่อทายาททั้ง 9 ของทองแดงและทองแท้ สุนัขทรงเลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ









ขนมชมพูนุท

ขนมทองหยิบ

ขนมทองเอก

ขนมทองอัฐ

ขนมทองม้วน

ขนมทองนพคุณ

ขนมทองหยอด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น