ตัวอักษณวิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกวิชาภาษาไทย =]

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เรื่องใหญ่! เด็กไม่ซื่อสัตย์ แนะพ่อแม่เร่งปลูกฝัง-ทำให้ลูกเห็น

         ถือเป็นเรื่องน่าสนใจไม่ใช่น้อย เมื่ออาจารย์สาขาปฐมวัย มศว เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องความซื่อสัตย์-สุจริต ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ ส่งผลให้เกิดคอร์รัปชั่น โกงกินเรื้อรัง แนะพ่อแม่ปลูกฝังความซื่อสัตย์-สุจริตให้ลูกตั้งแต่ช่วงปฐมวัย พร้อมกับทำตัวเป็นต้นแบบที่ดี ไม่พูดโกหกกับลูก นอกจากนี้ควรเชิดชูคนดี แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ เช่น คนเก็บขยะบนถนน หรือลุกขึ้นยืนให้ผู้สูงอายุนั่งก็ตาม ดร.สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์ อาจารย์จากสาขาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยถึงสภาวการณ์ในการสอนเด็กไทยให้มีคุณธรรมความประจำใจเพื่อจะก้าวไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตในวันข้างหน้าว่า การสอนเด็กให้มีคุณธรรมความซื่อสัตย์ สุจริตนั้นต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็กช่วงปฐมวัย


วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เทศมหาชาติ13 กัณฑ์

 

สาระย่อ มหาชาติชาดก (พระมหาเวสสันดร) 
1.กัณฑ์ทศพร 

กล่าวถึงการอภิเษกของพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งแคว้นสีพีกับพระนางผุสดีพระธิดาพระเจ้ากรุงมัทราช ซึ่งในอดีตชาติเคยบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นมเหสีพระพระอินทร์ เมื่อจุติจากสวรรค์ได้ทูลขอพร 10 ประการและได้เป็นพุทธมารดาสมปรารถนา

ข้อคิดประจำกัณฑ์

ต้องกระทำความดี





2.กัณฑ์หิมพานต์
กล่าวถึงการประสูติของ พระเวสสันดรพระราชโอรสของพระนางผุสดีกับพระเจ้ากรุงสญชัยโดยวันเดียวกันนั้นช้างเผือกชื่อ ปัจจัยนาคได้ถือกำเนิดที่โรงช้างต้น พระเวสสันดรได้อภิเษกสมรสกับพระนางมัทรีและมีพระราชโอรสนาม ชาลีกับพระธิดานาม "กัณหา" และมี ๘ พราหมณ์คน จากเมืองกลิงครัฐ มาทูลขอช้างปัจจัยนาค และพระเวสสันดรทรงโปรดยกให้ เป็นเหตุให้พระเวสสันดรถูกขับออกจากวัง

ข้อคิดประจำกัณฑ์
คนดีเกิดมานำพาโลกให้ร่มเย็น


3.ทานกัณฑ์ 
พระเจ้ากรุงสัญชัยจำต้องเนรเทศพระราชโอรสด้วยเสียพระทัยนักพระนางผุสดีทูลขออภัยโทษก็มิเป็นผลสำเร็จ พระเวสสันดรทูลลาพระมารดาพระบิดาและขอบริจาคทานให้พิธีสัตตสตกมหาทาน คือ ช้าง ม้า โคนม รถม้า ทาสและทาสี อย่างละ๗๐๐ บริจาคให้คนทั่วไป

ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑.ความรักของแม่ ความห่วงของภรรยา


4.กัณฑ์วนปเวสน์
กล่าวถึงกษัตริย์ทั้ง 4 เมื่อเสด็จไปถึงมาตุลนคร บรรดากษัตริย์ได้ทูลเชิญให้พระเวสสันดรครองเมืองแต่พระเวสสันดรได้ทรงปฏิเสธ พระเจ้าเจตราษฎร์จึงให้เจตบุตรพรานป่าไปดูแลมิให้ผู้ใดล่วงล้ำเข้าไปรบกวนพระเวสสันดร ซึ่งเมื่อเสด็จไปจนถึงเขาวงกต ได้พบพระอาศรมที่พระอินทร์สั่งให้พระวิศรรมเทพบุตรมาเนรมิตรไว้ให้ พระนางมัทรีและชาลีกุมาร กัณหากุมารีต่างก็เหน็ดเหนื่อยสะอื้นไห้ด้วยความลำบากยากเข็ญ พระเวสสันดรจึงทรงเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นนุ่งห่มของนักบวช พระนางมัทรีก็ทรงบวชเป็นดาบสินี บำเพ็ญศีลกันในป่าอยู่ที่อาศรม พระนางมัทรีต้องปัดกวาดอาศรมทุกวันแล้วก็หาผลไม้ในป่า ตักน้ำมาเตรียมไว้
ในป่านั้นอุดมด้วยผลไม้นานาชาติ มีสระโบกขรณีน้ำสะอาดใสไหลเย็น มีพฤกษาร่มรื่นและมีดอกไม้หอมหวลทั่วทั้งป่าราวกับวิมานทิพย์ 
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ยามเห็นใจ ยามจน ยามเจ็บ ยามจากเป็นยามที่ควรจะได้รับความเหลียวแล



5.กัณฑ์ชูชก 
กล่าวถึงชูชกพราหมณ์ชราชาวเมืองกลิงคราษฎร์ มีภรรยาสาวชื่อนางอมิตตดา ซึ่งปรนนิบัติชูชกอย่างดี พราหมณ์หนุ่มจึงพากันอิจฉาด่าทอ ทุบตีภรรยาที่ไม่ปรนนิบัติต่อตนเช่นนั้นเลย นางพราหมณีเหล่านี้นั้นโกรธแค้นจึงมารุมต่อว่านางอมิตตดาอย่างรุนแรง ด้วนเทวดาดลใจ นางจึงบังคับให้ชูชกไปขอสองกุมารจากพระเวสสันดรมารับใช้นาง ชูชกจำใจทำตามเดินทางไปเขตเขาคันธมาทน์ใช้เพทุบายหลอกพรานเจตบุตรว่าเป็นทูตมาเชิญพระเวสสันดรกลับแคว้นสีพี เจตบุตรหลงเชื่อจึงบอกทางไปเขาวงกตให้
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑.ของที่รักและหวงแหน ที่โบราณห้ามฝากผู้อื่นไว้คือ เงิน ม้า เมีย ยิ่งน้องเมียห้ามฝากเด็ดขาด อันตรายมาก



6.กัณฑ์จุลพน
กล่าวถึง การบอกทางไปเขาวงกตให้ชูชกอย่างละเอียดของเจตบุตรพรานป่าพร้อมเลี้ยงอาหารและจัดเสบียงให้ชูชกไปกินกลางทาง
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. มีอำนาจหากขาดปัญญาย่อมถูกหลอกได้ง่าย



7.กัณฑ์มหาพน 
กล่าวถึงชูชกเมื่อเดินทางไปถึงอาศรมพระอัจจุตฤษีก็ได้ใช้เพทุบายลวงว่าจะมาสนทนาธรรมกับพระเวสสันดร พระอัจจุตฤษีหลงเชื่อจึงต้อนรับเลี้ยงดูอย่างดีแล้วแนะทางไปเขาวงกตให้อย่างละเอียด เมื่อไปถึงเป็นเวลาพลบค่ำ เฒ่าชูชกก็ซ่อนตัวบนชะง่อนเขาด้วยคิดว่า ต้องรอรุ่งเช้าให้พระนางมัทรีออกไปหาผลไม้ เพราะนางคงไม่ยอมยกลูกให้ใครแน่
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ฉลาดแต่ขาดเฉลียว มีปัญญาแต่ขาดสติก็เสียทีพลาดท่าได้



8.กัณฑ์กุมาร
เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพราก  รุ่งเช้าเมื่อพระนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้ว  ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร สองกุมารลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระ  พระเวสสันดรจึงเสด็จติดตามหาสองกุมารแล้วมอบให้แก่ชูชก
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ความเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ ไม่ผลีผลามเข้าไปขอรอจนพระมัทรีเข้าป่าจึงเข้าเฝ้า เพื่อของสองกุมาร เป็นเหตุให้ชูชกประสบผลสำเร็จใจสิ่งที่ตนปรารถนา ดังภาษิตโบราณว่า "ช้า ๆ จะได้พร้าเล่มงาม ด่วนได้สามผลามมักพลิกแพลง" ช้าเป็นการนานเป็นคุณ ผู้รู้จักโอกาส มีมารยาท กล้าหาญ ใจเย็น เป็นสำเร็จ


9.กัณฑ์มัทรี 
กล่าวถึงพระนางมัทรีออกจากพระอาศรมไปหาผลไม้ในป่า พระทัยหวาดหวั่นด้วยประหวัดถึงสองกุมาร ผลไม้ก็หาได้ยากจนพลบค่ำกำลังจะกลับอาศรม เทวดาก็จำแลงเป็นสัตว์ร้ายขวางอยู่พระนางมัทรีต้องวิงวอนอย่างอ่อนโยนอยู่นานจึงผ่านมาได้ เมื่อกลับถึงอาศรมพระเวสสันดรมิได้แจ้งความจริงโดยทันทีด้วยเกรงว่านางจะโศกเศร้าจนไม่อาจทนทานได้ จึงกล่าวแสร้งด้วยโวหารแสดงความหึงหวง พระนางมัทรีน้องพระทัยออกเที่ยวแสวงหาสองกุมารตลอดคืนจนสลบไป พระเวสสันดรแก้ไขให้ฟื้นขึ้นแล้วตรัสบอกความจริง พระนางมัทรีจึงทรงอนุโมทนา
ข้อคิดประจำกัณฑ์
ลูกคือแก้วตาดวงใจของผู้เป็นพ่อแม่ "ลูกดีเป็นที่ชื่นใจของพ่อแม่ ลูกแย่พ่อแม่ช้ำใจ" รักใครเล่าจะเท่าพ่อแม่รัก ห่วงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่ห่วง หวงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่หวง ให้ใครเล่าจะเท่าพ่อแม่ให้ เพราะฉะนั้นพึงเป็นลูกแก้ว ลูกขวัญ ลูกกตัญญู ที่ชาวโลกชื่นชม 
พรหมก็สรรเสริญฯ


10.กัณฑ์สักกบรรพ
กล่าวถึงพระอินทร์เมื่อทรงทราบถึงบุตรทานนี้ เกรงว่าจะมีผู้อื่น มาขอพระนางมัทรีจึงแปลงองค์เป็นพราหมณ์มาทูลขอเสียก่อน เมื่อพระเวสสันดรประทานให้ พระอินทร์ทรงอนุโมทนาแล้วถวายพระนางคืนพระเวสสันดร จากนั้นจึงแสดงองค์ให้ปรากฏและให้พรพระเวสสันดร 8 ประการ
ข้อคิดประจำกัณฑ์
การทำดีแม้ไม่มีคนเห็น ก็เป็นความดีอยู่วันยังค่ำ ดุจทองคำแม้จะอยู่ในตู้โชว์ หรือในกำปั่นก็เป็นทองคำอยู่นั่นเอง เข้าลักษณะว่า ความ(ของ)ดีดีเด็ดเหมือนเพชรเหมือนทอง ถึงไร้เจ้าของก็เหมือนตัวยัง ถึงใส่ตู้อุด ถึงขุดหลุมฝัง ก็มีวันปลั่งอะหลั่งฉั่งชู การทำความดีแม้ไม่มีคนเห็น แต่เทพยดาอารักษ์เบื้องบนท่านย่อม


11.กัณฑ์มหาราช 
กล่าวถึงเมื่อชูชกพาสองกุมารหลงทางมาสู่หน้าพระลานกลางเมืองสีพี พระเจ้ากรุงสญชัยทอดพระเนตรเห็นเข้า เมื่อทรงทราบเรื่องก็ได้ทรงไถ่สองกุมารคืนตามพระเวสสันดรกำหนดค่าไว้ พระชาลีได้มีโอกาศชี้แจงเหตุผลการบำเพ็ญความดีของพระเวสสันดรต่อหน้าหมู่อำมาตย์ทั้งหลาย พระเจ้ากรุงสญชัยจึงเตรียมไพร่พลเสด็จไปรับพระเวสสันดรกลับเมือง พอดีกับที่พราหมณ์ 8 คนจากเมืองกลิงคราษฎร์นำช้างปัจจัยนาคมาคืน พระเจ้ากรุงสญชัยจึงทรงให้จัดขบวนแต่งกองเกียรติยศ ยกออกนครไปรับพระเวสสันดร กลับสู่เวียงวังด้วยทรงคิดถึงราชบุตรและสำนึกผิดแล้ว 
ข้อคิดประจำกัณฑ์
คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ย่อมได้รับความปกป้องคุ้มครองภัยในที่ทุกสถาน


12.กัณฑ์ฉกษัตริย์ 
พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา 1 เดือน กับ 23 วัน  จึงเดินทางถึงเขาวงกต  เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง 4  เหล่า ทำให้พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมาโจมจีนครสีพี  จึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา  พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดร  และเมื่อทั้งหกกษัตริย์ได้พบกันทรงกันแสงสุดประมาณ  รวมทั้งทหารเหล่าทัพทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน  พระอินทร์จึงได้ทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมาประพรมกษัตริย์ให้หายเศร้าโศกและฟื้นพระองค์
ข้อคิดประจำกัณฑ์
สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้ผิด บรรพชิตยังรู้เผลอ ความผิดพลาดเป็นเรื่องของมนุษย์ แต่การให้อภัยเป็นวิสัยของเทวดา


13. กัณฑ์นครกัณฑ์ 
เมื่อพระเวสสันดรทรงลาผนวชแล้ว ทรงสั่งลาพระอาศรม รับเครื่องทรงกษัตริย์ แล้วเสด็จกลับไปครองเมืองสีพี พระเวสสันดรเสด็จขึ้นครองราชย์ครองแผ่นดิน ทำให้ไพร่ฟ้าเสนาอำมาตย์มีสุขสงบกันทั่วทั้งแคว้น ชาวเมืองต่างก็หมั่นถือศีลบำเพ็ญกุศลตามสัตย์อธิษฐานของพระเวสสันดร กษัตริย์เมืองกลิงคราฐก็นำช้างปัจจัยนาเคนทร์มาถวายคืน เพราะบ้านเมืองมีฝนตกต้องตามฤดูกาลแล้ว พระเวสสันดรก็ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม และยังคงทรงบริจาคทาน จนพระชนมายุได้ ๑๒๐ พรรษาจึงสวรรคตแล้วไปปรากฎอุบัติเป็นท้าวสันดุสิตเทพบุตร บนสวรรค์ชั้นดุสิต รวมระยะเวลาที่พระเวสสันดร มัทรี ชาลี กัณหา ต้องนิราศจากพระนครไปอยู่ป่า เป็นเวลา ๑ ปี ๑๕ วัน
ข้อคิดประจำชาดก
ชาดกเรื่องนี้มีคติธรรม สั่งสอนให้คนเราเพียรประกอบคุณงามความดีโดยมิท้อถอย หากรู้จักสละทรัพย์บริจาคทานเนื่องนิจก็จะเป็นที่สรรเสริญทั่วไป คนโลภคนจิตบาปหยาบร้ายก็ต้องได้ภัยเพราะตัวเอง ดั่งชูชกนั้นเอง



วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ขนมไทยในวรรณคดี

 คำว่า "ขนม" เข้าใจว่ามาจากคำสองคำที่มาผสมกันคือ "ข้าวหนม" และ "ข้าวนม" เข้าใจว่าเป็นข้าวผสมน้ำอ้อย น้ำตาล โดยอนุโลมคำว่าหนม แปลว่า หวาน
          ข้าวหนม ก็แปลว่า ข้าวหวาน เรียกสั้นๆ เร็วๆ ก็กลายเป็น ขนม ไป
          ส่วนที่ว่ามาจากข้าวนม (ข้าวเคล้านม) นั้นดูจะเป็นตำนานแขกโบราณ อย่างข้าวมธุปายาส (ที่นางสุชาดาทำถวายพระพุทธเจ้าเมื่อตอนตรัสรู้ก็ว่าเป็นข้าวหุงกับนม) 
          คำว่า ขนม มีใช้มาหลายร้อยปียากจะสันนิฐานแน่นอนได้ เช่นเดียวกับไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่า "ขนมไทย" เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยใดเป็นครั้งแรก  แต่ตามประวัติศาสตร์ไทยมีหลักฐานตอนหนึ่งว่า มีการจารึกชื่อขนมในแท่งศิลาจารึก เป็นการจารึกแบบลายแทงสมัยโบราณ ขนมที่ปรากฏคือ "ไข่กบ นกปล่อย บัวลอย อ้ายตื้อ" ถามผู้ใหญ่ดูถึงได้รู้ว่า ไข่กบ หมายถึง เม็ดแมงลัก นกปล่อย หมายถึง ลอดช่อง บัวลอย หมายถึง ข้าวตอก อ้ายตื้อ หมายถึง ข้าวเหนียว ขนมทั้งสี่ใช้น้ำกระสายอย่างเดียวกันคือ "น้ำกะทิ" โดยใช้ถ้วยใส่ขนม ซึ่งเราเรียกการเลี้ยงขนม ๔ อย่างนี้ว่า "ประเพณี ๔ ถ้วย"

  ขนมประเภทที่ใช้ข้าว (แป้ง) น้ำตาล มะพร้าว คงจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะมีการติดต่อกับต่างประเทศ กล่าวว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีท่านผู้หญิงของเจ้าพระยาวิชาเยนชร์บรรดาศักดิ์ "ท้าวทองกีบม้า" ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับชาวพนักงานของหวาน ได้ประดิษฐ์คิดค้นขนมตระกูลทองเพราะมีไข่ผสมคือ ทองหยิบ ทองหยอด ทองพลุ ฝอยทอง ทองโปร่ง เป็นต้น
          กาพย์เห่ชมเครื่องคาว-หวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๒ ที่ทรงพระราชนิพนธ์ ชมพระศรีสุริเยนทรา บรมราชชนนีด้วยกระบวนแต่งเครื่องเสวย ที่ไม่มีผู้ใดจะเสมอได้ในครั้งนั้น ด้วยกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ที่ไพเราะยิ่ง ในฝีพระหัตถ์ด้วย 








โคลง
สังขยาหน้าไข่คุ้นเคยมี 
แกมกับข้าวเหนียวสี โศกย้อม
เป็นนัยนำวาที สมรแม่ มาแม่
แถลงว่าโศกเมอพร้อมเพียบแอ้ อกอร
  







กาพย์ 
* สังขยาหน้าตั้งไข่ ข้าวเหนียวใส่สีโศกแสดง
เป็นนัยไม่เคลือบแคลง แจ้งว่าเจ้าเศร้าโศกเหลือ
* ซ่าหริ่มลิ้มหวานล้ำแทรกใส่น้ำกะทิเจือ
วิตกอกแห้งเครือได้เสพย์หริ่มพิมเสนโรย
* ลำเจียกชื่อขนมนึกโฉมฉมหอมชวยโชย
ไกลกลิ่นดิ้นแดโดยโหยไห้หาบุหงางาม
* มัศกอดกอดอย่างไรน่าสงสัยใคร่ขอถาม
กอดเคล้นจะเห็นความขนมนามนี้ยังแคลง
* ลุตตี่ นี่น่าชมแผ่แผ่นกลมเพียงแผ่นแผง
โอชาหน้าไก่แกงแคลงของแขกแปลกกลิ่นอาย
* ขนมจีบเจ้าจีบห่องามสมส่อประพิมประพาย
นึกน้องนุ่งจีบถวายชายพกจีบกลีบแนบเนียน
* รสรักยักลำนำประดิษฐ์ทำขนมเทียน 
คำนึงนิ้วนางเจียนเทียนหล่อเหลาเกลากลึงกลม
* ทองหยิบทิพย์เทียมทัดสามหยิบชัดน่าเชยชม
หลงหยิบว่ายาดมก้มหน้าเมินเขินขวยใจ
* ขนมผิงผิงผ่าวร้อนเพียงไฟฟอนฟอกทรวงใน
ร้อนนักรักแรมไกลเมื่อไรเห็นจะเย็นทรวง
* รังไรโรยด้วยแป้งเหมือนนกแกล้งทำรังรวง
โอ้อกนกทั้งปวงยังยินดีด้วยมีรัง
* ทองหยอดทอดสนิททองม้วนมิดคิดความหลัง
สองปีสองปิดบังแต่ลำพังสองต่อสอง
* งามจริงจ่ามงกุฎใส่ชื่อดุจมงกุฎทอง
เรียมร่ำคำนึงปองสะอิ้งน้องนั้นเคยแล
* บัวลอยเล่ห์บัวงามคิดบัวถามแก้วกับตน
ปลั่งเปล่งเคร่งยุคลสถนนุชดุจประทุม
* ช่อม่วงเหมาะมีรสหอมปรากฏกลโกสุม
คิดสีสไบคลุมหุ้มห่อม่วงดวงพุดตาน
* ฝอยทอง เป็นยองใยเหมือนเส้นไหมไข่ของหวาน
คิดความยามเยาวมาลย์ เย็บชุนใช้ไหมทองจีนฯ







ขนมไทยในงานประเพณี  ที่นิยมใช้ในงานประเพณีต่างๆ มีดังนี้ 

          เทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย จะใช้ขนมที่เป็นมงคลนาม จัดเป็นขนมชั้นดีใช้ในการทำบุญเลี้ยงพระ แล้วก็เตรียมขนมสำหรับรับรองแขกเหรื่อ ที่มารดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ สมัยโบราณจะกวนกะละแมแต่ปัจจุบันอาจใช้ขนมอื่นๆ ที่อร่อยและสวยงาม เช่น ขนมชั้น ขนมลูกชุบ ตามความสะดวก
          เทศกาลเข้าพรรษา (แรม ๑ ค่ำเดือน ๘) ขนมไทยที่ใช้ได้แก่ ข้าวต้มมัดและขนมแกงบวดต่างๆ เช่น ฟักทองแกงบวด กล้วยบวชชี เป็นต้น
          เทศกาลออกพรรษา มีพิธีทำบุญตักบาตรเทโว ขนมที่ใช้ในการทำบุญ คือข้าวต้มลูกโยน
          สารทไทย เป็นงานประเพณีที่ชาวไทยทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติมิตรผู้ล่วงลับ จะมีขนมไทยประจำภาค อาทิ
                    ภาคเหนือ : กล้วยตาก เพราะมีกล้วยมาก นอกจากตากก็มีกวนและของแช่อิ่ม
                    ภาคกลาง : กระยาสารท เคียงคู่กับกล้วยไข่
                    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เรียกว่า งานบุญข้าวจี่ ขนมที่ใช้ได้แก่ ขนมเทียน ข้าวจี่
                    ภาคใต้ : เรียกว่างานบุญเดือนสิบ ขนมที่ใช้ได้แก่ ขนมลา ขนมกง ขนมพอง

ขนมไทยในพิธีกรรม   ขนมที่นิยมใช้ทำบุญเลี้ยงพระในงานมงคลหรือพิธีกรรมที่ขาดไม่ได้ ได้แก่
  • ขนมตระกูลทอง เช่น ทองเอก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และ
  • ขนมมงคลนาม เช่น ขนมถ้วยฟู ขนมชั้น ขนมจ่ามงกุฎ ขนมเสน่ห์จันทร์ 
ขนมไทยโบราณตระกูลทอง ส่วนผสม และ วิธีทำ ซึ่งภายหลังได้นำมาเป็นชื่อทายาททั้ง 9 ของทองแดงและทองแท้ สุนัขทรงเลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ









ขนมชมพูนุท

ขนมทองหยิบ

ขนมทองเอก

ขนมทองอัฐ

ขนมทองม้วน

ขนมทองนพคุณ

ขนมทองหยอด